เคยไหมที่จู่ ๆ คนใกล้ตัวก็มีอาการเดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย บางวันก็อารมณ์ดีสุด ๆ บางวันก็ขี้เหวี่ยงขี้วีนเหมือนคนมีประจำเดือน บางวันก็ซึมเศร้าสุด แบบนี้คนคนนั้นกำลังมีอาการอารมณ์สองขั้วหรือที่เรียกกันว่าอาการไบโพล่าร์อยู่รึเปล่า
ไบโพล่าร์ คืออะไร
ไบโพล่าร์ (Bipolar) คือความผิดปกติทางอารมณ์ เป็นโรคทางจิตที่มีลักษณะการแบ่งอารมณ์เป็นสองขั้ว สองรูปแบบอย่างชัดเจน ตั้งแต่ช่วงของอารมณ์แห่งความสุขและมีความรู้สึกดี (Manic Episode) สลับช่วงของอารมณ์หดหู่และมีความซึมเศร้า (Depressive Episode) สลับกันไปแบบคนละขั้วโดยอาจมีอาการได้นานกว่า 1 สัปดาห์เลยทีเดียว
• ขั้วอารมณ์แห่งความสุข (Manic Episode)
ผู้ป่วยจะมีอาการสดใสร่าเริงและมีความสุขแบบสุดขั้ว จนอาจพร้อมที่จะลงมือทำสิ่งต่าง ๆ ใหม่ ๆ โดยมักมีความมุ่งมั่นและพลิกฉากสุดขีด ไม่มีความยับยั้งช่างใจ และไม่คำนึงถึงความปลอดภัยและผลเสียที่จะตามมาในภายหลัง เช่น การใช้จ่ายเกินตัว เกินงบประมาณที่มีแบบที่ไม่สนว่าจะทำให้เป็นหนี้ในอนาคต หรือทำพฤติกรรมที่เสี่ยงอันตรายกับตนเอง พร้อมกับมีการพูดจาและความคิดเรื่องเดียวกันอย่างรวดเร็ว สมาธิสั้นลง
• ขั้วอารมณ์หดหู่ (Depressive Episode)
ผู้ป่วยจะมีอารมณ์ซึมเศร้า หดหู่ และมีความรู้สึกท้อแท้ มักขาดความกระตือรือร้นในการทำสิ่งต่าง ๆ ขาดความสนใจในกิจกรรมที่เคยสนใจ และมีปัญหาในการนอนหลับ นอนหลับยาก และอาจไปถึงขั้นฆ่าตัวตายในบางราย ช่วงของอารมณ์หดหู่และมีความซึมเศร้ามักเป็นระยะเวลาที่ยาวนานกว่าช่วงของอารมณ์แห่งความสุข และอาจมีระยะเวลาที่สั้น ๆ ของอารมณ์แห่งความสุขก่อนหน้านี้
วิธีสังเกตอาการเตือน ว่าตัวเองมีอาการไบโพล่าร์อยู่หรือไม่
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส) ได้ให้คำแนะนำถึงสัญญาณที่บ่งบอกว่าคุณอาจกำลังเสี่ยงเป็นไบโพลาร์ ซึ่งสามารถสังเกตได้จากอาการเหล่านี้
- 1. มีปัญหาในการทำงานให้สำเร็จ
- 2. มีอาการต่างๆ ของโรคซึมเศร้าแทรกซ้อนของโรคไบโพลาร์
- 3. พูดเร็ว
- 4. หงุดหงิดง่ายในบางกรณี
- 5. ใช้ยาเสพติดหรือดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
- 6. อารมณ์ดีมากเกินไป (ไฮเปอร์)
- 7. นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ
- 8. มีพฤติกรรมที่สม่ำเสมอ ไม่คิดหน้าคิดหลัง
ไบโพล่าร์ มีวิธีการรักษาอย่างไร
การรักษาโรคไบโพลาร์ (Bipolar Disorder) จำเป็นต้องได้รับการปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญในสุขภาพจิตเป็นสิ่งสำคัญเพื่อการวินิจฉัยและการรักษาที่เหมาะสมในแต่ละกรณี ซึ่งแนวทางการรักษา มักเป็นการรักษาที่ผสมผสานระหว่างการรักษาทางยาและการรักษาทางจิตบำบัด ดังนี้
1. รักษาด้วยยา (medication) ที่สามารถที่ช่วยควบคุมอารมณ์และปรับความผิดปกติของอารมณ์ได้ ช่วยลดความหวาดระแวง และลดความเครียด เพื่อปรับสารในสมองให้กลับมาเป็นปกติ
• 2. รักษาด้วยจิตบำบัด (Psychotherapy)
• การจัดการอารมณ์และพฤติกรรม ช่วยในการเรียนรู้วิธีการจัดการกับอารมณ์และพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปตามช่วงอารมณ์ของโรคไบโพลาร์
•
o การฝึกสมาธิและการผ่อนคลาย: ช่วยในการควบคุมความเครียดและอารมณ์
o การแนะนำให้ครอบครัว: การรับรู้และการสนับสนุนจากครอบครัวสามารถช่วยในการรักษาและจัดการกับโรคไบโพลาร์
o การเปลี่ยนแปลงรูปแบบชีวิต: การดูแลสุขภาพที่ดี, การออกกำลังกาย, การรับประทานอาหารที่เหมาะสม, การหลีกเลี่ยงสุราและสารเสพติด, และการรับนอนในระยะเวลาที่เหมาะสม สามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคไบโพลาร์
o การติดตามและการรับรู้สัญญาณเตือน: คนที่มีโรคไบโพลาร์ควรติดตามการรักษาของพวกเขาอย่างต่อเนื่องและรับรู้สัญญาณเตือนเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงในอารมณ์และพฤติกรรม
o การแบ่งปันประสบการณ์: การแบ่งประสบการณ์กับคนที่มีโรคไบโพลาร์และการร่วมรับการสนับสนุนจากกลุ่มสนับสนุน ที่สามารถช่วยในการเรียนรู้และการจัดการกับโรคไบโพลาร์
โรคไบโพลาร์เป็นโรคที่คนรอบข้างต้องทำความเข้าใจกับผู้ป่วย หากสังเกตอาการของคนรอบข้างว่ามีแนวโน้มที่เสี่ยงเป็นโรคดังกล่าว ควรเข้ารับการปรึกษาและรักษาอย่างเหมาะสมจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ การรักษาโรคไบโพลาร์นั้นยังสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเจ็บปวดและความผิดปกติของแต่ละบุคคล ดังนั้นการปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญในสุขภาพจิตเป็นสิ่งสำคัญเพื่อการวินิจฉัยและการรักษาที่เหมาะสมในแต่ละกรณี โดยประมาณ 70-80% ของผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาสามารถควบคุมโรคและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นจนสามารถกลับมาใช้ชีวิตปกติในสังคมได้
ความเห็นล่าสุด