ทุกชีวิต คือมิตรของเรา

อาการผิดปกติทางจิต ปัญหาทางสุขภาพใจที่ไม่ควรมองข้าม

อาการป่วยทางจิตใจหรือผู้ป่วยโรคทางจิตเวช พบได้เยอะมากขึ้นในสังคมปัจจุบัน แต่รู้ไหมว่าอาการที่คนมีพฤติกรรมประหลาก ชอบของแปลก ๆ มีท่าทางการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนไปนั้น ไม่ได้หมายความว่าคนคนนั้นจะป่วยเป็นโรคจิตเสมอไป แต่อาจเป็นเพียงคนที่มีอาการผิดปกติทางจิต อันเนื่องมาจากความเจ็บป่วย โรคเรื้อรัง และสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปเท่านั้น อาการผิดปกติทางจิต (Mental disorder) เป็นอย่างไร อาการแบบไหน มีกี่ประเภท วันนี้จะพาไปรู้จักอาการนี้กัน
อาการผิดปกติทางจิต คืออะไร

อาการผิดปกติทางจิต (Mental disorder) คือ คือบุคคลที่แสดงพฤติกรรม, ความคิด, และความรู้สึกที่ไม่ปกติหรือผิดปกติเมื่อเปรียบเทียบกับสภาวะปกติของบุคคลทั่วไป ซึ่งอาการเหล่านี้อาจทำให้เกิดความเดือดร้อนให้กับบุคคลรอบข้าง หรือมีผลกระทบต่อความสามารถในการทำงานและความสัมพันธ์กับผู้อื่น รวมถึงความสามารถในการปรับตัวที่เป็นประโยชน์สำหรับตนเองและสังคม

อาการผิดปกติทางจิต มีกี่ประเภท

อาการผิดปกติทางจิตมักถูกจำแนกเป็นหลายประเภท แต่ละประเภทมีอาการและลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกัน บางครั้งอาการผิดปกติทางจิตอาจเกิดขึ้นเป็นระยะเวลาสั้น ๆ และหายไป หรือมีอาการที่มีอยู่ตลอดเวลา ซึ่งสามารถแบ่งหลัก ๆ ได้ดังนี้

1. โรคจิต (Psychoses) เป็นความผิดปกติทางจิต ที่ทำให้บุคคลไม่สามารถดำเนินชีวิตในสังคม แสดงอาการออกมาอย่างชัดเจน 3 คือ 1. บุคลิกภาพเปลี่ยนไป 2. การหลงผิดไม่อยู่ในโลกของความจริง 3. การไม่รู้สภาวะตนเอง ทำให้ต้องใช้ยาในการรักษา ซึ่งสามารถแบ่งย่อยได้ ดังนี้

1.1 กลุ่มอาการทางจิตเนื่องจากความผิดปกติของสมอง (Organic, Including Symptomatic, Mental Disorders) ใน ICD-9 มีทั้งหมด 5 ประเภท ได้แก่ :

  • • โรคสมองเสื่อม (Dementia) : โรคสมองเสื่อมคือสภาวะที่เกิดจากการเสื่อมลงของฟังก์ชันสมอง ทำให้ผู้ป่วยสูญเสียความสามารถในการคิด จดจำ และประสาทควบคุมตนเอง โดยอาการจะเริ่มแสดงออกเป็นลักษณะผิดปกติในความคิดที่ซับซ้อน การจดจำ การเรียนรู้ และการตัดสินใจ โดยมักเกิดมากในกลุ่มผู้สูงอายุ
  • • โรคความจำเสื่อมอันไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์หรือสารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท (Amnestic Disorder Not Due to Alcohol or Substance Use) : เป็นสภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อมีสูญเสียหรือที่เรียกว่า “อาการหลงผิด” ในส่วนของความจำ ซึ่งอาจเกิดได้ในกรณีที่ผู้ป่วยได้รับอุบัติเหตุหรือการกระทบกระเทือนทางศีรษะอย่างรุนแรง จนทำให้ระบบความจำผิดปกติ
  • • โรคทางจิตเวชเนื่องจากความผิดปกติอื่นของสมอง (Mental Disorders Due to Other Conditions): เช่น โรคสมองตายเฉียบพลัน, โรคอัลไซเมอร์ , โรคพาร์กินสัน , และโรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น
  • • โรคจิตที่มีสาเหตุทางกายภาพอื่น (Other Mental Disorders Due to Brain Damage and Dysfunction) เช่น โรคสมองอักเสบ, โรคทางตา, และโรคทางการรับรู้ เป็นต้น
  • • โรคบุคลิกภาพและพฤติกรรมแปรปรวนเนื่องจากความผิดปกติของสมอง (Psychiatric Syndromes Due to Brain Damage): ซึ่งอาจแสดงอาการทางจิตที่ไม่เหมือนกับโรคจิตทั่วไป อาจจะเปลี่ยนพฤติกรรมกแบบหนึ่งไปอีกแบบเพราะสมองได้รับความกระทบกระเทือน

2. โรคประสาทและความผิดปกติอื่น ๆ ที่มิใช่โรคจิต (Neurotic Disorders, Other Nonpsychotic Mental Disorders) สามารถรักษาได้ด้วยการทำจิตบำบัดและแบ่งเป็นสองประเภทหลัก คือ

2.1 โรคประสาท (Neurotic Disorders) โรคความผิดปกติทางจิตใจที่ไม่ทำให้ผู้ป่วยสูญเสียความสามารถในการทำงานหรือการเข้าสังคมอย่างเห็นได้ อาจมีอาการหลงผิด หรืออาการขัดแย้งทางใจ

  • • โรคสุขภาพจิตแบบเฉพาะ (Special Symptoms):

2.2 กลุ่มอาการบุคลิกภาพและพฤติกรรมแปรปรวน เป็นความผิดปกติที่ ทำให้มีลักษณะบางอย่างต่างจากคนทั่วไปอย่างสุดโต่ง ซึ่งมักแสดงออกทางพฤติกรรมที่เริ่มในระยะต้นของพัฒนาการทางบุคลิกภาพตั้งแต่วัยเด็ก แต่จะปรากฏชัดเจนในวัยรุ่น มีสาเหตุมาจากโครงสร้างทางชีวเคมี กรรมพันธุ์ ประสาทสรีรวิทยาของบุคคล จากการเลียนแบบบุคคลใกล้ชิด เช่น พ่อแม่ คนเลี้ยง หรือประสบการณ์บางอย่างตั้งแต่วัยเด็ก

3. ภาวะปัญญาอ่อน (Mental Retardation) คือ ภาวะที่สมองของบุคคลไม่พัฒนาหรือพัฒนาไม่สมบูรณ์ อาจมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย เช่น ปัจจัยพันธุกรรม สิ่งแวดล้อม หรือการติดเชื้อในระหว่างการตั้งครรภ์ของมารดา ซึ่งส่งผลให้บุคคลนั้นมีความบกพร่องในทักษะต่าง ๆ ทั้งทางร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สติปัญญา และการปรับตัวเข้ากับสังคม ภาวะปัญญาอ่อนมักเกิดขึ้นตั้งแต่วัยเด็กหรือวัยรุ่นและยังคงอยู่ตลอดชีวิตของบุคคลนั้น ๆ โดยจะมีระดับความรุนแรงที่แตกต่างกันไปตามระดับความบกพร่องในการเรียนรู้และปรับตัวในสังคมของแต่ละบุคคล
อย่างไรก็ตามการวินิจฉัยและรักษาอาการผิดปกติทางจิตจำเป็นต้องผ่านการประเมินโดยผู้ทำงานด้านสุขภาพจิต เช่น จิตแพทย์และนักจิตวิทยา ที่มีความเชี่ยวชาญในการวินิจฉัยและรักษาภาวะสุขภาพจิตแบบต่าง ๆ ในขณะเดียวกันการเข้าใจและรับรู้ผู้ที่มีความผิดปกติทางจิตในสังคมเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้พวกเขาได้รับการสนับสนุนและการดูแลที่เหมาะสม ตามความต้องการของแต่ละบุคคล เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยมีอาการที่ดีขึ้น มีคุณภาพชีวิตที่ดี และกลับไปใช้ชีวิตปกติในสังคมได้ในที่สุด