ทุกชีวิต คือมิตรของเรา

รู้จักอาชีพพนักงานปฏิบัติการฉุกเฉินทางการแพทย์ ฮีโร่กู้ชีพบนรถฉุกเฉิน

เคยสังเกตไหมว่าเมื่อมีอุบัติเหตุเกิดและมีผู้ได้รับบาด สิ่งที่จะตามมาก็คือเสียงไซเรนของรถ
ฉุกเฉินที่รีบแล่นตรงดิ่งมายังจุดเกิดเหตุเพื่อทำการเข้าช่วยเหลือผู้ป่วย เมื่อมาถึงก็จะมีบุคลากรที่เชี่ยวชาญด้านการแพทย์และการกู้ชีพฉุกเฉินตรงดิ่งเข้าไปช่วยเหลือผู้ป่วยอย่างชำนาญ รวมถึงสามารถให้การปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้อย่างรวดเร็ว และหลายครั้งที่พวกเขาสามารถช่วยให้ผู้ป่วยรอดชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยประสบการณ์และความรู้ที่ได้ฝึกฝนมาอย่างดี อย่างที่เรามักจะเห็นได้ในซีรีส์ต่างประเทศกันบ่อย ๆ นั่นเอง ซึ่งอาชีพของฮีโร่บนรถแอมบูแลนซ์ พนักงานปฏิบัติการฉุกเฉินทางการแพทย์ นั่นเอง

พนักงานปฏิบัติการฉุกเฉินทางการแพทย์ คืออะไร

พนักงานปฏิบัติการฉุกเฉินทางการแพทย์ (Medical Emergency Technician) หรือชื่อย่อว่า EMT เป็นบุคคลที่ได้รับการฝึกฝนและมีความรู้ในการให้บริการการประคับประคองและดูแลรักษาผู้ป่วยที่อาจเจ็บป่วยหรือต้องการการดูแลทางการแพทย์ในสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยบทบาทของ EMT สามารถแบ่งระดับความชำนาญเป็นระดับได้ดังนี้

EMT-Basic (EMT-B)

พนักงานปฏิบัติการฉุกเฉินทางการแพทย์ ระดับ (EMT-B) จะมีความรู้และทักษะพื้นฐานในการดูแลรักษาผู้ป่วยในสถานการณ์ฉุกเฉิน พวกเขาสามารถให้การช่วยเหลือพื้นฐานได้ เช่น การให้การช่วยเหลือด้านการหายใจและหัวใจ การควบคุมความรู้สึก การดูแลรักษาบาดเจ็บเบื้องต้น และการประสานงานกับทีมการรักษาทางการแพทย์

EMT-Intermediate (EMT-I)

พนักงานปฏิบัติการฉุกเฉินทางการแพทย์ที่ ระดับ (EMT-I) จะมีความรู้และทักษะที่ขั้นกลางในการดูแลรักษาผู้ป่วย พวกเขาสามารถให้บริการการช่วยเหลือที่ระดับสูงขึ้น เช่น การให้ยาหรือการดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีอาการร้ายแรงมากขึ้น

Paramedic (EMT-P)

พนักงานปฏิบัติการฉุกเฉินทางการแพทย์ที่ ระดับ (EMT-P) จะมีความรู้ที่และทักษะที่สูงสุดในการดูแลรักษาผู้ป่วยในสถานการณ์ฉุกเฉิน พวกเขามีความสามารถในการให้การรักษาและดูแลรักษาทางการแพทย์ที่ขั้นสูง เช่น การทำการผ่าตัดเบื้องต้น การให้ยาทางเส้นเลือด การจัดการสถานการณ์ฉุกเฉินที่ซับซ้อน เป็นต้น

จุดเริ่มต้นของพนักงานปฏิบัติการฉุกเฉินทางการแพทย์

จุดเริ่มต้นของพนักงานปฏิบัติการฉุกเฉินทางการแพทย์ มีจุดเริ่มต้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง กองทัพได้มีการการสร้างระบบการแจ้งเตือนและการรับบริการทางการแพทย์ในสถานการณ์ฉุกเฉิน นักแพทย์และพยาบาลอาสาสมัครได้รับการฝึกอบรมเพื่อให้คอยให้ความช่วยเหลือทหารที่ได้รับบาดเจ็บจากการสู้รบในสงคราม หลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง มีการพัฒนาระบบการดูแลทางการแพทย์ในสถานการณ์ฉุกเฉิน (Emergency Medical Services หรือ EMS) ในหลายประเทศ มีการสร้างระบบการจัดการทีมการรักษาทางการแพทย์ที่มี EMT เข้ามาใช้ในการดูแลผู้ป่วยในสถานการณ์ฉุกเฉินด้วยเช่นกัน

ซึ่งปัจจุบันได้มีการอบรมบุคลากรด้านปฏิบัติการฉุกเฉินทางการแพทย์ เพิ่มความเชี่ยวชาญถึงระดับ Intermediate และ Paramedic ได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อให้บริการทางการแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญและพร้อมรับมือสถานการณ์ฉุกเฉินได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด พร้อมดูแลรักษาผู้ป่วยในหลายสถานการณ์ ไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยทางอากาศ ทางบก หรือทางน้ำ อีกด้วย

อยากทำอาชีพพนักงานปฏิบัติการฉุกเฉินทางการแพทย์ ต้องเรียนสายไหน

พนักงานปฏิบัติการฉุกเฉินทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องได้รับการฝึกอบรมแบบเฉพาะทางและมีประสิทธิภาพ เนื่องจากมีหน้าที่สำคัญที่จะต้องให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยในสถานการณ์ฉุกเฉิน โดย EMT นั้นต้องผ่านการอบรม เพื่อให้ได้ประกาศนียบัตรรับรองเพื่อนำมาประกอบอาชีพ ซึ่งในประเทศไทยก้มีสถาบันที่เปิดสอนด้านนี้โดยเฉพาะ เรียกว่า สาขาเวชกิจฉุกเฉิน ซึ่งเป็นหลักสูตรการเรียนการสอนที่เน้นสร้างนักปฏิบัติการฉุกเฉินทางการแพทย์ ที่มีความสามารถในการช่วยเหลือดูแลรักษาผู้ป่วยฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุ และระหว่างการนำส่งโรงพยาบาลได้อย่างถูกวิธีและรวดเร็วที่สุด

หลักสูตรและสถาบันที่เปิดสอน

1. EMR (Emergency Medical Responder)

เป็นหลักสูตรสำหรับเจ้าหน้าที่และอาสาสมัคร (อาสากู้ชีพ) โดยจะเปิดอบรมทั้งหมด 40 ชั่วโมง ซึ่งโรงพยาบาลประจำหวัดหรือโรงพยาบาลศูนย์ จะเปิดอบรมทุก ๆ ปี หลักจากจบหลักสูตรผู้เข้าร่วมอบรมจะได้รับประกาศนียบัตรที่สามารถนำมาประกอบอาชีพได้

2. EMT (Emergency Medical Technician)

เป็นหลักสูตรสำหรับเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลและอาสาสมัคร (อาสากู้ชีพ) โดยจะเปิดอบรม 115 ชั่วโมง ส่วนใหญ่ต้องผ่านการอบรม EMR มาก่อน สถานจัดอบรมได้แก่ โรงพยาบาลศูนย์ หรือโรงพยาบาลขนาดใหญ่ จะเปิดอบรมทุก ๆ ปี หลักจากจบหลักสูตรผู้เข้าร่วมอบรมจะได้รับประกาศนียบัตรที่สามารถนำมาประกอบอาชีพได้

3. AEMT (Advanced Emergency Medical Technician)

โดยรับผู้ที่จบการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า เข้าเรียนในหลักสูตร 2 ปี เมื่อจบการศึกษาจะได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ (ปวส.ฉพ.) โดยมีสถาบันการศึกษาที่เปิดสอน ดังนี้

  • • วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
  • • วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี
  • • วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง
  • • วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา
  • • วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี
  • • โรงเรียนนาวิกเวชกิจ ศูนย์วิทยาการ กรมแพทย์ทหารเรือ

สำหรับผู้ที่อยากสานฝันการเป็นพนักงานปฏิบัติการฉุกเฉินทางการแพทย์ ฮีโร่กู้ชีพบนรถฉุกเฉินสุดเท่ เหมือนอย่างพี่ ๆ อาสาสมัครกู้ภัย กู้ชีพจากมูลนิธิต่างๆ นอกจากจะต้องผ่านการเรียนรู้และผ่านหลักสูตรอบรมแล้ว ยังต้องมีสติและความรู้ที่จะปฎิบัติภารกิจสำคัญที่อาจเปลี่ยนแปลงชีวิต ระหว่างความเป็นกับความตายได้ความเชี่ยวชาญ หากคุณกำลังชื่นชมอาชีพที่ต้องแบกความรับผิดชอบอย่างยิ่งใหญ่นี้ไว้บนบ่าแล้ว ทุกครั้งที่ได้ยินเสียงรถไซเรน อย่าลืมหลีกทางให้พนักงานปฏิบัติการฉุกเฉินทางการแพทย์ปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างสะดวกด้วยนะ